“Dragon” X “Dukkha (ทุกข์)” : เราเอาชนะมันได้

“Dragon” X “Dukkha (ทุกข์)” : เราเอาชนะมันได้

เทพนิยายมีความจริงมากกว่าที่คิด : ไม่ใช่เพราะพวกเขาบอกเราว่า มังกรมีอยู่จริง แต่เพราะพวกเขาบอกเราว่ามังกรสามารถถูกเอาชนะได้

Fairy tales are more than true: not because they tell us that dragons exist, but because they tell us that dragons can be beaten – Neil Gaiman

dragon

Quote นี้ มาจากหนังสือนิยายแฟนตาซีแนวมืดมน ที่ชื่อว่า “Coraline” เขียนโดย Neil Gaiman ตัวละครหลักของเรื่องคือ เด็กหญิงที่ชื่อว่า “คอราไลน์” เป็นเด็กที่แข็งแกร่ง เฉลียวฉลาด และกล้าหาญ

ผู้เขียนชื่นชอบ Quote นี้มาก แม้ไม่ได้อ่านหนังสือ แต่ด้วยความที่ quote นี้มีความหมายในเชิงบวก จึงทำให้เดาได้ว่า ตัวละครหลักในเรื่องต้องเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ

ไม่ว่ามันจะน่ากลัวแค่ไหน เธอก็จะสามารถเอาชนะมันได้ถ้ามีความกล้าหาญและความมุ่งมั่น

มังกร

ประเทศจีน ถือว่า มังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด เป็นสัญลักษณ์ของพลัง โชคลาภ และความแข็งแกร่ง มังกรเชื่อมโยงกับความรู้สึก ความคิด หรือจิตใจของมนุษย์ เช่น การเผชิญหน้ากับความกลัวภายในตัวเอง

ในขณะที่มังกรในเทพนิยาย มักถูกเขียนให้มีพลังเวทมนตร์หรือความสามารถพิเศษ มังกรมีความสัมพันธ์กับเทพเจ้าหรือตัวละครหลักในบางเรื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่แสดงถึงการเผชิญหน้ากับความท้าทายและความยากลำบาก ตัวละครหลักต้องพยายามต่อสู้กับมังกรและเอาชนะให้ได้

suffer

ถ้าเปรียบมังกร คือ ความทุกข์

ทุกข์ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึง คือ

  • ทุกข์ที่ทุกคนต้องเจอ เป็นเรื่องธรรมชาติ – ความเกิด ความแก่ ความตาย
  • ทุกข์ที่เกิดเป็นครั้งคราว – ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น
ทะเลาะ

เมื่อเจอกับความทุกข์แล้ว เราเป็นคนประเภทไหน ?

เมื่อเราพบเจอกับความทุกข์ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกท้อแท้ แต่ก็มีบางช่วงเวลาที่เราต้องการทนต่อความทุกข์นั้น แต่ก็มีบางคนที่สามารถเอาความทุกข์นั้นมาเป็นประสบการณ์เพื่อเรียนรู้และเติบโต

ทุกข์เห็นธรรม

หนทางแห่งการบรรเทาทุกข์

พระพุทธองค์ได้ชี้แนะแนวทางแห่งการพ้นทุกข์ไว้ในมรรค 8 สิ่งสำคัญคือความเห็นชอบหรือความเข้าใจ (สัมมาทิฐิ)

ถ้าเราเคยได้ศึกษาหรือได้ฟังอะไรมา แล้วเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรนำไปปฏิบัติ ก็จัดว่าเป็นการ “เห็นชอบ” แต่เมื่อใดที่เราลงมือปฏิบัติ การเห็นของเรามันจะลึกเข้าไปเรื่อยๆ และละเอียดมากขึ้น

จากเดิมที่เวลาทำอะไรแล้วไม่รู้สึกตัว ก็จะรู้สึกตัว พร้อมๆ กับการเห็นอารมณ์ เห็นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ เมื่อเราเห็นมันเกิด-ดับ แบบนี้ไปเรื่อยๆ ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ก็จะเริ่มคลายลง และค่อยๆ ปล่อยวางในที่สุด

มรรค8

ด้วยความสามารถของเราในวันนี้ อาจจะยังไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ แต่การที่เราสามารถบรรเทาความทุกข์ได้นั้น ก็ถือว่าเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่ง

มันเหมือนกับการผ่านด่านต่างๆในการ์ตูน ที่เราต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ เพื่อเรียนรู้และเติบโตขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งของชีวิต

คุณพร้อมที่จะเอาชนะทุกข์แล้วหรือยัง

ทุกข์เราเอาชนะได้